กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นวิธีการออมเงินเพื่อวัตถุประสงค์หลักสำหรับชีวิตหลังเกษียณอายุ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยสมาชิกกองทุนสะสมเงินโดยการหักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ และนายจ้างจ่ายเงินสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง และกองทุนจะนำไปบริหารให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้น สมาชิกยังสามารถได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่หักสะสมทุกๆ ปีด้วย
พนักงานทั้งแบบประจำและไม่ประจำ และลูกจ้าง ตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- เดิมมจธ.กำหนดให้เฉพาะพนักงานประจำเท่านั้น ได้ปรับแก้ข้อบังคับในปี 2550 ให้รวมถึงพนักงานแบบไม่ประจำและลูกจ้างด้วย)
- กรณีเป็นลูกจ้างหน่วยงานที่ว่าจ้างต้องแจ้งการจ้างเป็นลูกจ้างต่อ สทบ.
**หมายเหตุ**
พนักงาน/ลูกจ้างเข้าใหม่ ที่เคยจ่ายเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากที่อื่นๆ มาก่อนแล้ว สามารถโอนเงินกองทุนในส่วนของตนและนับอายุสมาชิกต่อเนื่องจากที่เดิมได้ภายในเวลา 1 ปี หลังออกจากงานเดิม เพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินสมทบและเงินผลประโยชน์ ตามรายละเอียดในข้อ 14
- เงินที่สมาชิกกองทุนจ่ายสะสม ซึ่งกองทุนของมจธ. สมาชิกสามารถเลือกอัตราเงินสะสมได้ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นพนักงานแบบประจำสามารถเลือกสะสมได้ตั้งแต่ 4-8% ของเงินเดือน (เงินเดือนในอัตรา มจธ. ไทม่รวมเงินสมนาคุณต่าง)
- พนักงานไม่ประจำหรือลูกจ้างเลือกได้ระหว่าง 2-3% (เงินเดือนในอัตราของ มจธ. ไม่รวมเงินสมนาคุณต่างๆ)
- เงินที่มหาวิทยาลัยจ่ายสมทบมีอัตราดังนี้
- อัตรา 8% สำหรับสมาชิกที่เป็นพนักงานแบบประจำ
- ตามอัตราที่สมาชิกเลือกสะสม (2-3%) สำหรับสมาชิกที่เป็นพนักงานแบบไม่ประจำหรือลูกจ้าง
- เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
- ผลประโยชน์อันมาจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน โดยกองทุนฯ จะจัดหาผู้จัดการกองทุนมาบริหารให้เกิดผลประโยชน์ที่มั่นคง และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้กองทุนได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดูผลประกอบการย้อนหลังได้จาก website ของกองทุน
- ได้เก็บออมเงินเพื่อใช้เป็นสวัสดิการที่ดีและเป็นหลักประกันของชีวิตหลังเกษียณอายุ
- เงินสะสมสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ปีละไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับสมาชิกที่ส่งเงินสะสมเกินปีละ 10,000 บาท ส่วนที่เกินจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนแต่ไม่เกิน 290,000 บาท
- ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินกองทุนทั้งจำนวนในกรณีเกษียณอายุ (และได้เป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี) ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต แต่หากออกจากกองทุนก่อนเกษียณอายุ หรือเป็นสมาชิกกองทุนไม่ถึง 5 ปี ดูรายละเอียดข้อ 14 แต่หากออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมจธ. ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วอื่นๆ ภายใน 1 ปี ก็สามารถนับอายุต่อได้
- เงินกองทุนมีความมั่นคง เนื่องจากเป็นนิติบุคคลแยกออกต่างหากจากนายจ้าง และบริษัทจัดการกองทุน (ไม่สามารถนำไปชำระหนี้สินของนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุนได้)
สมาชิกสามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงการหักเงินสะสมได้ปีละ 1 ครั้ง (อยู่ระหว่าง 4-8% ในกรณีสมาชิกที่เป็นพนักงานประจำ และ 2-3% กรณีสมาชิกที่เป็นพนักงานแบบไม่ประจำหรือลูกจ้าง) ในเดือนพฤศจิกายน จะมีผลในเดือนมกราคมปีถัดไป กองทุนฯ จะมีหนังสือไปยังสมาชิกทุกคนในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ได้ เนื่องจากการจ่ายเงินสะสมจะหักจากค่าจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าข้าง ดังนั้น เมื่อไม่มีการจ่ายค่าจ้างจึงไม่สามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนได้และลูกจ้างไม่สมารถจ่ายเงินสมทบแทนนายจ้างได้
ไม่ได้ ระหว่างการเป็นสมาชิกจะถอนเงินออกจากกองทุนไม่ได้ (หากขอถอนเงินออกจะถือว่าหมดสมาชิกภาพ และจะไม่ได้รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์) และกองทุนไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการอื่นๆ นอกจากเป็นสวัสดิการในยามเกษียณหรือออกจากงาน
- พ้นจากงาน
- ลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน
- เมื่อกองทุนเลิก
หากสมาชิกลาออกจากงานไปทำงานในที่ใหม่ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วอยู่ด้วย สามารถโอนเงินกองทุนไปเป็นเงินเริ่มต้นในที่ใหม่และสามารถนับอายุสมาชิกต่อจากเดิมได้ (เพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินสมทบและผลประโยชน์ตามรายละเอียดข้อ 14) โดยสามารถโอนไปได้ในระยะเวลา 1 ปีหลังจากออกจากมจธ.
- เงินสะสมของสมาชิก
- เงินผลประโยชน์ที่ได้จากเงินสะสมของสมาชิก
- เงินสมทบที่มหาวิทยาลัยจ่ายให้ ตามอัตราส่วนร้อยละตามอายุงาน (อายุงานไม่ใช่อายุการเป็นสมาชิก)
- เงินผลประโยชน์ที่ได้จากเงินสมทบที่มหาวิทยาลัยจ่ายให้ ในอัตราส่วนตามข้อ 3 อัตราส่วนการได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ (จากส่วนเงินสมทบที่มหาวิทยาลัยจ่ายให้)
- อายุงานน้อยกว่า 1 ปี อัตราส่วนร้อยละ 0 (ไม่ได้รับเงินสมทบ)
- อายุงาน 1 ปี ไม่ถึง 2 ปี ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ร้อยละ 40
- อายุงาน 2 ปี ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ร้อยละ 50
- อายุงาน 3 ปี ไม่ถึง 4 ปี ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ร้อยละ 60
- อายุงาน 4 ปี ไม่ถึง 5 ปี ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ร้อยละ 80
- อายุงาน 5 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เต็ม
(แก้ไขข้อบังคับ 2544)
- ออกจากงานตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเนื่องจากกระทำการทุจริตในหน้าที่ หรือกระทำการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยเสียหาย
- ออกจากงานตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเนื่องจากประพฤติชั่วร้ายแรง หรือเกียจคร้าน ไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน และมหาวิทยาลัยเห็นว่าไม่สมควรให้จ่ายเงินสมทบ
- ถูกปลดออกจากงานตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเพราะกระทำผิดวินัยร้ายแรง
- ต้องออกจากงานเนื่องจากได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดละหุโทษ
- บุตร 2 ส่วนหากมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน
- สามีหรือภรรยา 1 ส่วน
- บิดามารดา 1 ส่วน แต่หากผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวตาม (1) (2) หรือ (3) หรือมีแต่ได้เสียชีวิตไปก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับให้บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วน
- หนังสือแจ้งผู้รับผลประโยชน์ คือ เอกสารที่สมาชิกระบุถึงผู้รับผลประโยชน์จากเงินกองทุนหากสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากเสียชีวิต โดยสมาชิกสามารถมอบเงินกองทุนดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้โดยความเสน่ห์หา สมาชิกสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่สมาชิกเสียชีวิตได้ สามารถระบุคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยระบุชื่อ-สกุลและเงื่อนไขในการได้รับผลประโยชน์ ในหนังสือแจ้งผู้รับผลประโยชน์ ยื่นพร้อมใบสมัครสมาชิก และสามารถเปลี่ยนแปลงรายผู้รับผลประโยชน์ได้
- สมาชิกสามารถขอแบบฟอร์มขอเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้รับผลประโยชน์ได้ที่ สทบ. คุณนวลจิรา โทร 8081 หรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของกองทุน และสามารถยื่นได้ที่ สทบ. คุณนวลจิรา โทร 8081
บริษัทจัดการจ่ายเงินกองทุนให้แก่สมาชิกรวมทั้งหมดครั้งเดียวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดสมาชิกภาพโดยจะจ่ายเป็นเช็คระบุชื่อสมาชิกขีดคร่อมเฉพาะเข้าบัญชีผู้รับแทนเท่านั้น (A/C PAYEE ONLY)
- หากสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพเมื่อเกษีรณและมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินที่ได้รับคืนทั้งหมด
- แต่หากไม่ตรงเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเฉพาะเงินสมทบจากนายจ้างและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ต้องเสียภาษีย้อนหลังจากเงินที่ได้หักสะสมไว้
อ้างอิง website กรมสรรพากร (http://www.rd.go.th/publish/554.0.html ข้อ 55)
ความรู้เรื่องภาษี > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา > เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
- ผู้จัดการกองทุนจะจัดทำรายงานแสดงยอดเงินกองทุนรายบุคคลแจ้งให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (สิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคม) เป็นเอกสารที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานยกเว้นภาษีด้วย ปัจจุบัน รายงานที่ผู้จัดการกองทุนสรุปส่งให้สมาชิกจะได้รับประมาณเดือน กรกฎาคม สำหรับสรุปตั้งแต่มกราคมถึงพฤษภาคม และรายงานสรุปปลายปีจะจัดส่งให้สมาชิกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีต่อไป เป็นข้อมูลสรุปของทั้งปี (มกราคม-ธันวาคม)
- กรรมการกองทุนกำลังประสานงานให้ผู้จัดการกองทุนมีบริการสอบถามข้อมูลกองทุนรายบุคคลผ่านเว็บ คาดว่าปี 2551 สมาชิกจะได้รับบริการดังกล่าว
- ดูแลการดำเนินการ และการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามข้อบังคับ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกและกองทุน
- คัดเลือก แต่งตั้ง เปลี่ยนแปลง ผู้จัดการกองทุน ผู้ตรวจบัญชี และผู้ชำระบัญชี
- มอบนโยบาย กำหนดวิธีการ แนวทางการบริหารกองทุน และติดตามการดำเนินงานของผู้จัดการกองทุน
- จัดประชุมใหญ่และกิจกรรมเกี่ยวกับกองทุนตามความเหมาะสม
- พิจารณาเปลี่ยนแปลงแก้ไข และตีความข้อบังคับกองทุน
- กรรมการจากการแต่งตั้งของมหาวิทยาลัย 4 คน
- กรรมการจากการเลือกตั้งของสมาชิก 4 คน มีวาระครั้งละ 2 ปีและเป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดกัน
- ประธานสภาคณาจารย์, กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย 1 คน และประธานคณะกรรมการสวัสดิการของมหาวิทยาลัย รวม 3 คน
- บริหารเงินกองทุนให้เกิดผลประโยชน์ตามนโยบายหรือแนวทางการลงทุนที่กรรมการกองทุนได้กำหนด
- จัดทำข้อมูลเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ แยกตมรายบุคคลของสมาชิก และจัดทำรายงานแยกตามรายบุคคลให้แก่สมาชิกปีละ 2 ครั้ง (ดูข้อ 15)
- จัดทำบัญชีแสดงฐานะการเงินของกองทุน ส่งให้กองทุนเพื่อให้กรรมการและสมาชิกตรวจสอบดูได้
- ดำเนินการอื่นๆ ตามมาตรฐานด้านบัญชี เช่นการสอบบัญชี
คณะกรรมการกองทุนได้เลือก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน โดยได้เลือกนโยบายการลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำ คือลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตร เงินฝาก ฯลฯ และลักษณะกองทุนเป็นกองทุนร่วม (Pool fund) ที่มีหลายนายจ้างในกองทุนเดียวกัน (แต่แยกตัวเลขเงินกองทุนแต่ละนายจ้างชัดเจน) โดยกองทุนร่วมที่เลือกใช้อยู่มีชื่อว่า “กองทุนสินสถาพร” ซึ่งผู้จัดการกองทุนและนโยบายดังกล่าวถูกเลือกมาตั้งแต่ครั้งแรกจนกระทั่งปัจจุบัน (หมดอายุสัญญา 2550)
ผู้จัดการกองทุนต้องทำบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกองทุนจัดส่งให้แก่คณะกรรมการกองทุนทุกเดือน สมาชิกมีสิทธิขอตรวจดูบัญชีและเอกสารของกองทุน ชั้น 3 กองคลัง อาคารสำนักงานอธิการบดี ในเวลาทำการ
- website สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มจธ. http://www.kmutt.ac.th/pvd.fund/
- download ข้อบังคับกองทุนได้จาก website กองทุนหัวข้อ download
- สอบถามที่คุณ นวลจิรา ส่วนงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล โทร. 8081 คุณเครือวัลย์ เสือเล็ก กองคลัง โทร.8128
- ประธานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดร.เกษรา วามะสิริ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร